|
|
|
|
|
ประวัติความเป็นมาของตำบลยายอาวุโส ได้เล่าให้ฟังต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อประมาณ 200 ปีเศษ ได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่ง ได้อพยพมาจากทิศตะวันออก โดยมีล้อ เกวียน วัวควาย เป็นพาหนะเพื่อมาหาที่ทำกินและที่อยู่อาศัยในสมัยนั้น รวมกันมาประมาณ 7-8 ครอบครัว ประมาณ 20 กว่าคน เมื่อเดินทางมาถึงได้จอดล้อ เกวียน เพื่อหยุดพักอาศัย หุงหาอาหารกินกันที่ข้างคลองชายโนน ซึ่งมีต้นตะเคียน ต้นขี้เหล็ก ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น (ปัจจุบันคือบ้านโนนเหล็กและบ้านโนนเคียน) และมีคลองมีน้ำไหลอยู่ข้างโนน พวกที่อพยพได้เห็นสภาพพื้นที่เกิดการพอใจว่าสภาพที่เห็นนี้ พวกเขาสามารถจะเข้าบุกร้างถางพงเพื่อใช้เป็นที่ทำกินได้ จึงได้ปรึกษากันและตกลงว่าจะยึดพื้นที่ผืนนี้เป็นที่อยู่อาศัย และเป็นที่ทำไร่ ทำนา จึงได้จัดแบ่งกัน อยู่เป็นแห่งๆ |
|
|
|
โดยอยู่ไม่ไกลกันนัก และแต่ละโนนก็อยู่ติดกับคลองมีน้ำไหลผ่านตลอดปี และมีโนนติดกับคลองและบริเวณคลองก็เป็นที่ลุ่มทำนาได้ เมื่อทุกครอบครัวที่มาได้ตัดสินใจยึดพื้นที่นี้เป็นที่ตั้งหลักปักฐานทำกินกัน แล้วก็ได้จัดสันปันส่วนกันตามความสามารถเพื่อเข้าทำกินเมื่ออยู่กันมาได้ประมาณ 3-4 ปี ก็ได้มีพระธุดงค์ได้ลุกขมลมา ชาวบ้านเห็นว่าเป็นพระอาวุโสมองๆ แล้วน่าเลื่อมใสจึงเกิดศรัทธาและนิมนต์ให้พระได้ปักกลดจำวัดที่ชายโนนสักคืน เพื่อที่จะได้ทำบุญรับธรรมะกัน เพราะตั้งแต่มาอยู่อาศัยกันยังไม่เคยได้พบพระและทำบุญทำทานกันเลย จึงให้หัวหน้าหมู่บ้านนิมนต์ให้ท่านปักกลดจำวัดที่ชายโนน พระท่านก็มิได้ขัดข้องรับนิมนต์ พอตกเวลากลางคืนพวกชาวบ้านก็มานิมนต์ ให้พระได้แสดงธรรมะให้ฟังทุกคน ก็มีความปิติที่ได้รับธรรมะจากพระก็ได้นิมนต์พระมาตอนเช้าพวกเขาจะนำอาหารคาวหวานเท่าที่มีมาทำบุญให้กับพระ เมื่อถึงตอนเช้าชาวบ้านก็นำข้าวปลาอาหารมาทำบุญถวายให้พระพร้อมทั้งรับพรกันเสร็จเรียบร้อย
พระธุดงค์ท่านก็ได้ลาชาวบ้านไปโดยออกเดินไปทางทิศตะวันออก |
|
เมื่อพระท่านไปแล้วชาวบ้านก็เหลือบไปเห็นสลก (ที่หุ้มบาตรพระ) ลืมอยู่บนพุ่มไม้ ชาวบ้านก็รีบไปหยิบเอามาเพื่อจะตามไปมอบให้ท่านจึงชวนกันติดตามพระไปเป็น 2 พวก พวกหนึ่งตามรอยไปพอดีไปทันพระที่โนนแห่งหนึ่ง ปัจจุบันเรียกชื่อโนนนี้ว่า "โนนทัน" เป็นที่ของกำนันตำบลสลกบาตรตลอดมาตั้งแต่ขุนราษฎรบรรหาร อดีตกำนันตำบลสลกบาตร คนที่ 6 และตกทอดมาถึงกำนันคนที่ 12-13 (คนปัจจุบันของตำบลสลกบาตร) พวกที่ตามพระไปทันแล้วก็ติดตามพระไปเพราะยังมีอีกพวกหนึ่งไปสลักพระอยู่ที่หนองน้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งเข้าใจว่าพระท่านต้องไปพักร้อนที่หนองน้ำดังกล่าว ก็จึงไปพบพระที่หนองดังกล่าวและชาวบ้านก็ได้มอบสลกบาตรที่ท่านลืมให้ ท่านรับแล้วก็ขอบใจพร้อมทั้งขอตั้งชื่อบ้านที่ท่านปักกดรับอาหารคาว หวาน นั้นให้ชื่อว่า "บ้านสลกบาตร" และโนนที่ไปทันพระให้ชื่อว่า "โนนทัน" และหนองที่พบกันให้ชื่อว่า "วังสลักพระ" นี่คือที่มาของบ้านสลกบาตรปัจจุบัน และบ้านวังสลัดพระเป็นหมู่ที่ 4
ตำบลสลกบาตร |
|
|
|
|
|
|
แต่เดิมเทศบาลตำบลสลกบาตรมีฐานะเป็นสุขาภิบาล ซึ่งจัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2499 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 73 ตอนที่ 99 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 โดยมีพื้นที่ในเขตสุขาภิบาล ในช่วงแรก 3.52 ตารางกิโลเมตร ต่อมาได้ขยายเขตพื้นที่สุขาภิบาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 110 ตอนที่ 108 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2536 โดยมีพื้นที่ 11.70 ตารางกิโลเมตร และเมื่อปี
พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลได้ประกาศใช้ และมีผลให้สุขาภิบาลทั้งประเทศได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาล สุขาภิบาลสลกบาตรจึงได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลสลกบาตร เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 |
|
|
|
|
|
|
|
เทศบาลตำบลสลกบาตร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ห่างจากที่ว่าการอำเภอขาณุวรลักษบุรี 9 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด
11.70 ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลดอนแตง และ ตำบลแสนตอ อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร |
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ตำบลบ่อถ้ำ อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ตำบลบางแก้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ |
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ตำบลวังชะพลู อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร |
|
|
ตำบลดอนแตง และ ตำบลแสนตอ อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร |
ตำบลวังชะพลู อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร |
ชุมชนแสงเพชรรวมใจ
ชุมชนรวมพลัง
ชุมชนศรีมหาโพธิ์
ชุมชนบ้านกลางรวมใจ
ชุมชนโพธิ์เงินพัฒนา
ชุมชนโพธิ์ทองพัฒนา
ชุมชนประชาสุข
ชุมชนมังกรทองพัฒนา
ชุมชนร่วมเจริญ
ชุมชนหงษ์ทองพัฒนา
ชุมชนร่วมใจพัฒนา
ชุมชนสี่แยกพัฒนา
ชุมชนร่มฟ้า
ชุมชนจอมทองพัฒนา
|
ตำบลบางแก้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ |
ตำบลบ่อถ้ำ อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 8,441 คน |
|
|
|
ชาย 4,027 คน |
คิดเป็นร้อยละ 47.71 |
|
|
|
หญิง 4,414 คน |
คิดเป็นร้อยละ 52.29 |
|
|
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 4,355 ครัวเรือน |
|
|
ความหนาแน่นเฉลี่ย 721.45 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
หมู่ที่ |
หมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
1 |
ร่วมใจพัฒนา |
312 |
355 |
667 |
379 |
2 |
รวมพลัง |
245 |
238 |
483 |
174 |
3 |
ศรีมหาโพธิ์ |
254 |
262 |
516 |
276 |
4 |
แสงเพชรรวมใจ |
289 |
341 |
630 |
278 |
5 |
บ้านกลางรวมใจ |
324 |
357 |
681 |
393 |
6 |
โพธิ์เงินพัฒนา |
193 |
196 |
389 |
149 |
7 |
โพธิ์ทองพัฒนา |
449 |
470 |
919 |
455 |
8 |
หงษ์ทองพัฒนา |
441 |
491 |
932 |
390 |
9 |
สี่แยกพัฒนา |
320 |
339 |
659 |
367 |
10 |
ร่มฟ้า |
160 |
187 |
347 |
186 |
11 |
จอมทองพัฒนา |
310 |
353 |
663 |
514 |
12 |
มังกรทองพัฒนา |
266 |
269 |
535 |
245 |
13 |
ประชาสุข |
332 |
393 |
725 |
448 |
14 |
ร่วมเจริญ |
116 |
141 |
257 |
90 |
|
ไม่ระบุชุมชน |
16 |
22 |
38 |
11 |
รวม |
4,027 |
4,414 |
8,441 |
4,355 |
|
|